เลือกเรียนไม่ยาก...ถ้ารู้จักและเข้าใจตัวเอง
การพิจารณาแนวทางการเรียน, การทำงานสำหรับเรา
ไม่ว่าจะ Ikigai ปรัชญาชีวิตจากญี่ปุ่น,
หรือจะใช้ Design Thinking ในการออกแบบชีวิต
หลักการจากชาวตะวันตก และหลักการอื่นๆ
สิ่งที่ใช่ก็มักจะมี 2 องค์ประกอบที่เหมือนกัน คือ
“สิ่งที่ชอบ” กับ “สิ่งที่ทำได้ดี”
พ่อแม่ที่เปิดใจ…ลูกอยากเรียนอะไร ก็แล้วแต่เขา
แต่คำตอบที่ได้จากลูก คือ ไม่รู้จะเรียนอะไร!!
ไม่แปลก ถ้าเด็กยังไม่เข้าใจตัวเอง และการศึกษา การเรียนรู้ในบ้านเรา ทำให้ตัวเลือกที่มีให้กับเด็กมันน้อยเกินไป
ถ้าผู้ปกครองไม่ได้เสริมหรือสร้างประสบการณ์ชีวิตในด้านอื่นๆ เด็กจะขาดตัวเลือกในอนาคตได้
เช่น เลือกสายการเรียน เลือกอาชีพ หาความสนใจหรือความชอบไม่เจอ
แต่คำตอบที่ได้จากลูก ไม่รู้จะเรียนอะไร
เพราะเด็กไทยตัวเลือกน้อยเกินไป!!
สุดท้ายผู้ปกครอง ก็หาตัวเลือกที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับลูก แต่อาจไม่ใช่ในสิ่งที่ลูกเป็น
เพราะมีทางเลือกเดียว ก็เหมือนไม่มีทางเลือก!!
ต้องเริ่มต้นที่…ความเข้าใจ!!
การหาสิ่งที่ใช่สำหรับเรา
ต้องพิจารณาจาก 2 เรื่องหลักๆ
1. สิ่งที่ชอบ
2. สิ่งที่ทำได้ดี หรือสิ่งที่ถนัด
เคยมีไหม”สิ่งที่ชอบแต่ไม่ถนัด”
และ “สิ่งที่ถนัดกลับไม่ชอบ”
การหา “สิ่งที่ใช่” เบื้องต้นสำหรับน้องๆ มัธยม
เริ่มที่ 2 วงนี้ก่อนเลยครับ
ต้องแยกให้ออกว่า…
สิ่งที่ชอบและถนัดเป็นคนละเรื่องกัน
วงแรก : ค้นหาและสร้าง "สิ่งที่ชอบ"
เพื่อพบ แรงขับเคลื่อน ของตัวเอง
เชื่อหรือไม่…มีน้องๆ หลายคนที่บอกเจอในสิ่งที่ชอบ และ มี Passion แล้ว
เชื่อว่าเราชอบอย่างนั้น อย่างนี้
บ้างก็บอกว่านี่ คือ Passion (สิ่งที่เขาหลงใหลที่สุด)
แต่กลับไม่มีการลงมือทำ
เพราะถ้าไม่ใช่แรงขับเคลื่อนก็ไม่สูง!!
การใช้แบบทดสอบ ซึ่งหลายตัวยังสามารถสะท้อนสิ่งที่เราชอบได้ดี เช่น
แบบทดสอบบุคลิกภาพของ MBTI (Myers–Briggs Type Indicator),
แบบทดสอบอาชีพของฮอลแลนด์ (Holland Codes) ฮอลแลนด์นี่ชื่อคนนะครับ!!
การวิเคราะห์ลายนิ้วมือ ในเรื่องลักษณะนิสัยโดยพื้นฐาน จะช่วยให้เราเข้าใจและสังเกตตัวเองได้มากขึ้น
จะรู้ได้ว่าเราชอบ ต้องมาจากการ “ลงมือทำ”
การหาสิ่งที่เราชอบ พอรวบรวมมาได้ดังนี้
1. รูปแบบการใช้ชีวิต
เพราะอาชีพแต่ละอาชีพก็มีรูปแบบชีวิตที่แตกต่างกัน และรูปแบบการใช้ชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากเราสามารถเลือกทำในสิ่งที่เหมาะสมกับเรา ก็คงดีไม่น้อย ดังนั้นการพิจราณารูปแบบการใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เช่น บางคนชอบการเดินทาง บางคนเดินทางแล้วเหนื่อย ใช้พลังชีวิตสูง อาชีพที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายเยอะๆ อาจไม่เหมาะนัก (ถ้าจากการวิเคราะห์ลายนิ้วมือของ M Booster ก็พอบอกได้ที่ศักยภาพ L3) รูปแบบการพบปะผู้คนหรือเข้าสังคม รูปแบบการทำงาน เป็นต้น
2. กิจกรรมที่สนใจ
ดูจากงานอดิเรกก็ได้ หรือ สิ่งที่เราว่างแล้วเป็นต้องหยิบมาทำ เรื่องที่สนใจ หนังสือที่อ่าน เมื่อเจอแล้วลองตั้งคำถามกับตัวเองต่อ เราชอบอะไรในกิจกรรมนั้น!!
3. หาแรงบันดาลใจ
การอยู่คนเดียว คิดคนเดียวบางครั้งก็ตัน คิดไม่ออก ลองหาฟังเรื่องราวดีๆ ประสบการณ์ดีๆ จากผู้อื่นก็ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับเรา หรือ ได้แนวทางในการตั้งเป้าหมายให้กับเราได้
4. ลองทำสิ่งใหม่ๆ ในชีวิต
การที่เราใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ เป็นการสร้างกรอบความคิด ไม่ได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ ไม่มีประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เราเชื่อมต่อกับประสบการณ์เดิม ดังนั้นการออกไปทำสิ่งที่ไม่คุ้นเคย พาตัวเองไปสู่สังคมใหม่ๆ เข้าอบรม สัมมนา เวิร์คช็อป เดินทางท่องเที่ยว เปิดโลก เปิดสังคม ให้ความคิดให้ดีไม่น้อย
5. สร้างความสนุกและท้าทายในงานของเรา
การหาสิ่งที่ชอบไม่ใช่ว่าต้องเริ่มใหม่เสมอไป
เรายังสามารถสร้างให้งานที่เราทำสนุก หรือ ท้าทายได้อีกด้วย
“ฉันทะ” รัก ศรัทธาและเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ
วงสอง : เข้าใจและสร้างสรรค์ "สิ่งที่ทำได้ดี"
เพื่อ ใช้ศักยภาพ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รู้จักตัวเองในอีกฝั่ง นั่นคือ…
สิ่งที่ทำได้ดี หรือ ความถนัด
เกิดจาก การเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ จนเป็นความสามารถที่ใช้ได้ดี
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
1. ส่วนที่เป็น ความรู้ ความเข้าใจ
2. ส่วนที่เป็น ความสามารถ
“ความถนัด” คือ…
การเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ จนเป็นความสามารถที่ดี
1. ความรู้ ความเข้าใจ
เป็นความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งที่ทำด้านนั้น ความรู้ ความเข้าใจนี้ เริ่มต้นไม่ยาก ไม่รับการสอน หาความรู้ด้วยการอ่านฟัง ทำความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เมื่อเรามีความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) มากพอรวมกับประสบการณ์ (Experience) ที่เพิ่มขึ้น ก็จะเกิดความสามารถในการคิด หรือเรียกว่า ปัญญา (Wisdom) ในเรื่องนั้นๆ ได้
การวิเคราะห์ลายนิ้วมือ จะมีข้อมูลของช่องทางการรับข้อมูลหรือรูปแบบการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล (Learning Style) ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้หรือรับรู้ได้ดีที่สุดตามเฉพาะของแต่ละคนได้มากยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติมในเรื่องการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ…
สำหรับเด็กวัยเรียน ความรู้และทักษะที่จำเป็นจะถูกใส่เข้ามาในระบบการศึกษาพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด!!
แม้แต่วัยทำงาน ความรู้และความสามารถที่มีใช้กับงานได้แล้ว แต่ไม่ต่อยอดและพัฒนา ก็ยากที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคตได้เช่นกัน
หยุดเรียนรู้ ก็ยากที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
2. ความสามารถ
หลักๆ จะมี 2 องค์ประกอบในการพัฒนาเป็นความสามารถของเรา
2.1 ศักยภาพ ความไวในการใช้งาน หรือ ความเร็วในการเรียนรู้
ต้องยอมรับว่าสิ่งได้มาในแต่ละคนแตกต่างกัน
ทำไมเรียนก็พร้อมๆ กัน แต่ความสามารถที่เพิ่มขึ้นแตกต่างกัน
องด์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างนี้ ก็คือ ศักยภาพ
ความเร็วในการเรียนรู้ หรือศักยภาพ
ปัจจุบันเทคโนโลยีวิเคราะห์ลายนิ้วมือช่วยในเรื่องนี้ได้เลย
อ่านเพิ่มเติมการวิเคราะห์ลายนิ้วมือ…
“ศักยภาพที่ยอดเยี่ยม” มักจะถูกเรียกว่า “พรสวรรค์”
2.2 การเรียนรู้และฝึกฝน
ถ้าศักยภาพจะสะท้อน พรสวรรค์
การเรียนรู้ ฝึกฝน ด้วยความมุ่งมั่น จะเรียกรวมๆ ว่า “พรแสวง” ก็คงได้
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาต้องเรียนรู้ ฝึกทักษะในการดำรงชีพ
การเรียนรู้สิ่งต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญกับมนุษย์
เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความพิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ คือ สมองแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นหากมนุษย์ขาดการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย
ไม่มีความสามารถใดเกิดขึ้นได้เอง
เราต้องการเรียนรู้ ฝึกฝน มุ่งมั่นตั้งใจ จึงจะได้ความสามารถที่ยอดเยี่ยมนั้นมา!!
“Success is no accident.
It is hard work, perseverance, learning, studying, sacrifice
and most of all, love of what you are doing or learning to do”
― Pele
การเข้าใจตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต
เมื่อเรารู้วงกลม 2 วงแล้ว
สิ่งที่ชอบ และ สิ่งที่ทำได้ดี หาและสร้างในสิ่งที่มีทั้ง 2 ส่วน
ก็จะพบสิ่งที่ใช่ไม่ยาก!!
เลือกเป็นเจ้าของชีวิตด้วยตัวเราเอง